Article
สารพิษโลหะหนัก ออกฤทธิ์อย่างไรต่อร่างกาย
ปัจจุบันพบว่าโลหะหนักที่แม้ว่าจะมีปริมาณในร่างกายเพียงเล็กน้อยในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดพิษ แต่ก็ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อร่างกายหลายประการ เพราะโลหะหนักจะเข้าไปรบกวนการทำงานของแร่ธาตุต่างๆในร่างกาย โดยปกติแล้วแร่ธาตุเหล่านี้จะช่วยเร่งปฏิกิริยาการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย เช่น การสร้างพลังงาน การใช้สารอาหารการสร้างฮอร์โมน เป็นต้น ส่งผลให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายหยุดชะงักไป นอกจากนั้นสารโลหะหนักก็ยังเป็นอันตรายต่อผนังเซลล์ เมื่ออยู่บนผนังเซลล์ทำให้เกิดเสียสมดุลของประจุไฟฟ้า เกิดการทำลายผนังเซลล์ เซลล์จึงถูกทำลาย ก่อให้เกิดความผิดปกติในการแบ่งตัวของเซลล์
รู้จักกับโรคความดันโลหิต
ทุกคนคงเคยตรวจวัดความดันเวลาตรวจสุขภาพ แต่คงน้อยคนที่จะเข้าใจว่าค่านั้นบอกอะไรได้บ้าง โดยปกติแล้วการวัดค่าความดันโลหิตจะแสดงผลออกมา 2 ค่า บันทึกค่าเป็นสัดส่วนเช่น 130/80 mmHg
เอาชนะโรคภูมิแพ้ ด้วยการแก้ที่ต้นเหตุ
วันนี้เราจะมาว่ากันเรื่องโรคยอดฮิต ที่เป็นกันเกือบจะครึ่งประเทศ ก็คือเรื่องภูมิแพ้ ในมุมมองของการแพทย์บูรณการกันบ้าง ภูมิแพ้ เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะ 40 ปีมานี้ มีโรคภูมิแพ้เพิ่มขึ้น 3-4 เท่า ปัจจุบันในประเทศไทย มีอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้โดยเฉลี่ยดังนี้ โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ร้อยละ 23-30, โรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคหืดร้อยละ 10-15, โรคผื่นผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ร้อยละ 15 และโรคแพ้อาหาร ร้อยละ 5 เด็กมีอัตราการเป็นภูมิแพ้มากกว่าผู้ใหญ่
ภาวะความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
ปัจจุบัน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุอันดับหนึ่ง ที่คร่าชีวิตพลเมืองโลกมากที่สุด จากสถิติ พบว่า ในทุก ๆ 2 วินาที จะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคนี้ 1 คน ผู้ร้ายตัวจริงเบื้องหลังก็คือการที่เส้นเลือดแดง เกิดภาวะแข็งตัว ส่งผลให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือด เป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หลอดเลือดที่ขาอุดตัน อัมพฤกษ์-อัมพาต
กินอย่างไรไกล...เบาหวาน
เบาหวานในระยะแรก ไม่ควรให้ยาที่ไปกระตุ้นการสร้างอินซูลินเพิ่ม เพราะอินซูลินมีมากอยู่แล้ว จึงควรหลีกเลี่ยงยากลุ่ม Sulfonylurea เพราะอินซูลินสูงมีปัญหา เนื่องจากหน้าตาของอินซูลินคล้ายกับ Growth factor ซึ่งสามารถย้อนกลับไปกดการสร้าง Growth hormone ได้
ดีท็อกซ์ตับ
ตับเป็นหนึ่งในอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดในร่างการมนุษย์ ทำหน้าที่สำคัญๆหลายอย่าง มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหารและเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ เป็นที่เก็บสะสมของวิตามินและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เช่น เหล็ก ทองแดง วิตามินบี12 วิตามิน เอ ดี อี เค และยังเป็นแหล่งผลิตเม็ดเลือดแดงด้วย นอกจากนี้ Kupffer cells ในตับยังช่วยกรองเชื้อโรคต่างๆจากกระแสเลือดอีกด้วย
ปัญหาวัยทอง รักษาและฟื้นฟูได้
เมื่อพูดถึงคำว่า “วัยทอง” คนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่า หมายถึง ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน แต่ผู้ชายก็ต้องก้าวสู่วัยทองเช่นเดียวกัน เมื่อฮอร์โมนเพศชายหรือเทสโทสเทอโรนลดลง ซึ่งในทางการแพทย์เรียกผู้ชายวัยทองว่า “แอนโดรพอส” (Andropause)
เจ็บอก.... เจ็บใจ สัญญานเตือนภัยที่ต้องรู้
หัวใจเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดอวัยวะหนึ่งของร่างกาย คือ ทำงานทั้งกลางวัน กลางคืน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่พัก ทุก ๆ วัน หัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณ 2,000 แกลลอน ทำงานหนักอย่างนี้ บางครั้งคนเรากลับไม่ค่อยทะนุถนอม ใจดวงน้อย ๆ นี้ ให้อยู่กับเราไปนาน ๆ นี่จึงเป็นเหตุที่ว่า คนยุคปัจจุบัน ตายด้วยโรคหัวใจเป็นอันดับต้น ๆ ในเมืองไทยบางปีก็เป็นอันดับหนึ่ง บางปีก็เป็นอันดับสองรองจากมะเร็ง
- Page Previous
- Page 1
- ...
- Page 3
- Page 4
- You're currently reading page 5
- Page 6
- Page 7
- ...
- Page 14
- Page ถัดไป